วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำศัทพ์บทที่ 7

คำศัทพ์บทที่ 7
  1. Master Production Scheduling = ระบบงานวางแผนการผลิตหลัก
  2. Capacity Requirement Planning = ระบบงานวางแผนกำลังการผลิต
  3. Material Requirement Planning = ระบบงานวางแผนความต้องการวัตถุดิบ
  4. Shop Floor Management = ระบบงานควบคุมการผลิต
  5. Project Contract Management = ระบบงานบริหารโครงการ
  6. Preventive Maintenance System = ระบบงานบำรุงรักษาเครื่องจักร
  7. Production Cost Analysis System = ระบบงานวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต
  8. Inventory Control System = ระบบงานควบคุมสินค้าคงคลัง
  9. Sale Order System = ระบบงานขาย
  10. Purchase Order System = ระบบงานจัดซื้อ

บทที่ 7 เรื่องที่ 5 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

 เรื่องที่ 5 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)



          อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง   คือ
       อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )


บทที่ 7 เรื่องที่ 4 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์

เรื่องที่ 4 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์


 เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน  สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1.  การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3.  การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA  ประกอบด้วย
1.  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)       
3.  ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)                 
4.  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
                        ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น ฉบับ คือ
1.  กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.  กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.  กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.  กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5.  กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.  กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
            ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนกฏหมายอีก ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

บทที่ 7 เรื่องที่ 3 พฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศ

 เรื่องที่ 3 พฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศ


ทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมสารสนเทศ (Information behavior) กันหน่อยดีกว่า 
  • พฤติกรรมสารสนเทศ (Information behavior) เป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจวิธีการต่างๆ ที่มนุษย์มีปฎิสัมพันธ์กับสารสนเทศ “understanding of how people interact with information” โดยเฉพาะการสร้าง การแสวงหา และการใช้สารสนเทศ
  • ทฤษฎีทางจิตวิทยา เห็นว่า ความต้องการสารสนเทศเกิดจากแรงกระตุ้นทางกาย ความอยากรู้อยากเห็น และแรงกระตุ้นทางสังคม เช่น ต้องการเข้าพวก ต้องการการยอมรับ หรือแรงกระตุ้นที่เกิดจากความต้องการที่จะรู้หรือเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นความต้องการที่ซับซ้อน
  • การแสวงหาสารสนเทศมักจะเป็นไปตามหลักการ Zipf’s Principle of least effort คือ ใช้ความพยายามให้น้อยที่สุด หาแบบง่ายๆ ด้วยวิธีสะดวกสบาย แม้สารสนเทศที่ได้อาจมีคุณภาพด้อยก็ตาม และการกระจายตัวไม่เป็น normal distribution แต่จะเป็นไปตามหลัก power law curve หรือ 80-20 rule
  • ในมุมมองของสารสนเทศศาสตร์ เราพยายามจะทำความเข้าใจการสร้าง การแสวงหา และการใช้สารสนเทศ โดยสนใจเฉพาะชนิดของสารสนเทศ และกระบวนการเคลื่อนย้าย (transfer) สารสนเทศ เป็นหลัก ในขณะที่การสื่อสารและสังคมศาสตร์ จะสนใจกระบวนการสื่อสาร ของสารสนเทศ และผลกระทบที่มีต่อคนและสังคม (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Information Behavior ในมุมมองของสารสนเทศศาสตร์ ได้ที่http://gseis.ucla.edu/faculty/bates/articles/information-behavior.html)
  • กรอบแนวคิดทฤษฎี (Conceptual Models) ทางสารสนเทศศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่สำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีของ Thomas D. Wilson (1981, 1996, 1999, 2000) Brenda Dervin (1986), David Ellis (1989, 1993), Ellis and Haugan (1997), Marcia J. Bates (1989), Carol Kuhlthau (1991,1993), Ingwersen (1996), Nicholas J. Belkin (1982, 1995)
  • T.D. Wilson’s Information Behaviour model เห็นว่าพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเกิดจากความต้องการพื้นฐานทั้ง 3 ด้านของมนุษย์ คือ ความต้องการทางกาย (ความหิว กระหาย) ทางอารมณ์ (ความอยากรู้อยากเห็น ต้องการความสำเร็จ แสดงออก มีอำนาจเหนือผู้อื่น ต้องการการยอมรับจากสังคม) และทางสติปัญญา (ต้องการรู้เละเข้าใจ เพื่อจัดระเบียบ วางแผน และมีทักษะเพื่อตัดสินใจ) และขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอื่นๆ เช่น ที่ทำงาน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ด้วย
  • David Ellis’s model of information-seeking behaviourกระบวนการแสวงหาสารสนเทศของนักวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ จะประกอบไปด้วยพฤติกรรม 6 ประการ คือ Starting (การเริ่มต้น) -> Chaining (การเชื่อมโยงร้อยเรียง) -> Browsing (การดูผาด) -> Differentiating (การแยกแยะความแตกต่าง) -> Monitoring (การติดตามเฝ้าสังเกต) -> Extracting (การคัดแยกออกมา) ต่อมาเพิ่มอีก 2 ขั้นตอน คือ Verifying (การตรวจสอบความถูกต้อง) -> Ending (การจบกระบวนการ)
  • Information Search Process (ISP) ของ Carol Kuhlthauกระบวนการค้นหาสารสนเทศ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิด และทัศนคติของผู้ใช้ ในระหว่างค้นหาสารสนเทศ เช่น ความสับสน ลังเล ไม่แน่ใจ เกิดข้อสงสัยและปัญหา ตลอดจนเกิดความมั่นใจ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การเริ่มงาน (Task initiation) -> การเลือกเรื่อง (Topic selection) -> การสำรวจ (Pre-focus exploration) -> การสร้างกรอบแนวคิดของเรื่องที่ต้องการ (Focus formation) -> การรวบรวม (Information collection) -> การนำเสนอและจบกระบวนการ (Presentation / Search closure) แต่ทุกขั้นตอนจะประกอบไปด้วย 4 แง่มุม คือ ความคิด (Thoughts), ความรู้สึก (Feelings), การกระทำ (Actions), กลยุทธ์ (Strategies)
  • Berrypicking model ของ Marcia Bates การตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลการค้นคืนเพียงครั้งเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับสารสนเทศชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เก็บได้ระหว่างทาง และการแวะเก็บแต่ละครั้งจะมีการปรับแก้คำค้นใหม่ไปเรื่อยๆ โดยเน้นการสำรวจเลือกดูแบบผาดๆ (browsing) ซึ่งเป็นการค้นหาแบบไร้ทิศทางหรือแบบกึ่งมีทิศทาง
  • Anomalous State of Knowledge (ASK) ของ Nicholas J. Belkinเป็นความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ หลักการคือ ผู้ใช้ต้องทราบความต้องการของตนเองและตั้งคำถาม (ASK) เพื่อสอบถาม (request a query) ไปยังระบบ IR จากนั้นระบบจะตอบกลับและส่งสารสนเทศมาให้ในรูปแบบข้อความ (texts) ผู้ใช้จะประเมินสารสนเทศที่ได้รับ และตัดสินใจว่าสารสนเทศนั้นตอบสนองกับความต้องการหรือไม่ ตอบสนองทั้งหมด บางส่วน หรือไม่ตอบสนองเลย อย่างไรก็ตาม บางครั้งผู้ใช้มักมีปัญหาทางด้าน cognitive และ linguistic นั่นคือ ไม่สามารถระบุความต้องการที่ชัดเจนของตัวเองได้ ขาดความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์และ IR หรือมีปัญหาด้านการใช้ภาษาที่ถูกต้องในการตั้งคำถาม
  • Sense-Making ของ Brenda Dervin “the effort of people to make sense of many aspects of their lives through information seeking and use” ทฤษฎีนี้เห็นว่าพฤติกรรมความต้องการสารสนเทศไม่ได้เกิดจากความต้องการแสวงหาสารสนเทศ แต่เกิดขึ้นเพราะต้องการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นภาวะที่ต้องใช้สารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อลดช่องว่างของปัญหา ซึ่งความต้องการสารสนเทศจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เป็นพฤติกรรมทางการสื่อสารที่วางตัวผู้ใช้หรือผู้ค้นหาสารสนเทศเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิจัย และให้ความสนใจศึกษาแรงจูงใจจากภายใน (internal motivation) และความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก (use studies) เป็นการนำวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและแนวคิดทางปรัชญาเข้ามาใช้
  • Information Foraging ของ Peter Pirolli, Stuart Card, Ed H. Chi, Wai-Tat Fu พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของผู้ใช้เว็บ เหมือนสัตว์ป่าล่าเหยื่อ (Informavores) มีลักษณะ get maximum benefit for minimum effort มีพื้นฐานอยู่ที่ความเกียจคร้านและเห็นแก่ตัว ใช้การตามกลิ่นเส้นทางที่เคยประสบความสำเร็จมาก่อน ทิ้งรอยเท้าไว้เพื่อกลับมาใหม่ และเลือกเหยื่อที่จะล่า (อาจจะตัวเล็กกว่าแต่จับง่าย) ดังนั้น การออกแบบระบบสืบค้นในเว็บต้องหาง่าย ใช้เวลาน้อย ในการค้นหาสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์
  • David Nicholas ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศออนไลน์ของคนรุ่นใหม่และนักวิจัยในยุคของ Google Generation และได้จำแนกพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศดิจิทัลของคนรุ่นใหม่ ที่ใช้ Virtual Libraries ออกเป็น 6 ลักษณะ คือ horizontal information seekers (skimming activity เลือกตักแต่ของดีๆ มาที่หน้าเว็บเพจที่จะใช้เพียงแค่ 1-2 หน้าเท่านั้น ไม่ดูทั้งเว็บ), navigation (ใช้เวลาสำรวจหาสิ่งที่ต้องการนาน), viewers (เมื่อหาเจอใช้เวลาดูแค่ 4-8 นาที โดยไม่อ่านเนื้อหาทั้งหมด), squirreling behaviour (เหมือนกระรอกแทะ คือบางครั้ง download มาแต่ก็ไม่อ่าน), diverse information seekers (ดูจาก log analysis พบว่าผู้ใช้มาจากหลากหลาย ดังนั้น one site does not fit all), checking information seekers (ผู้ใช้เลือกดูหลายๆ sites และเชื่อมั่นใน brand ที่ตนชอบ เช่น google)

บทที่ 7 เรื่องที่ 2 หลักส่วนบุคคล

เรื่องที่ 2 หลักส่วนบุคคล


ปัจจุบันมีการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ประกอบการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจต้องมีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ใช้บริการในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานสำคัญในความเป็นส่วนตัว (Privacy Right) ของประชาชนที่ต้องได้รับการคุ้มครองอันจะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกรอบในการคุ้มครองข้อมูลที่นิยมในระดับสากลและถูกนำมาอ้างอิงเป็นแนวทางในการดำเนินการใดๆ คือ กรอบในการคุ้มครองข้อมูลขององค์การร่วมมือ และพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD : The Organization for Economic Cooperation and Development) ในเรื่อง Guidelines Governing the Protection of Privacy and Transborder Data Flows of Personal Data ซึ่งมีหลักพื้นฐาน 8 ประการ คือ 1) หลักข้อจำกัดในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) หลักคุณภาพของข้อมูล 3) หลักการกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ 4) หลักข้อจำกัดในการนำไปใช้ 5) หลักการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล 6) หลักการเปิดเผยข้อมูล 7) หลักการมีส่วนร่วมของบุคคล 8) หลักความรับผิดชอบ
สำหรับในประเทศไทยได้มีการกล่าวถึงข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างกว้างขวาง เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นต้น
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 นั้น คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีประกาศ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ซึ่งรวบรวม จัดเก็บ ใช้ เผยแพร่ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับข้อมูล ของผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ซึ่งได้มีการประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นมา

บทที่ 7 เรื่องที่ 1 จริยธรรมในระบบสารสนเทศ

เรื่องที่ 1 จริยธรรมในระบบสารสนเทศ


จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPAประกอบด้วย
    1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
    1.1.การ เข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
      1.2.การ ใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
       1.3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
     1.4.การ รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น 
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์
    2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองด้วย
    3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
โดยในการคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
    4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

คำศัทพ์บทที่ 6

คำศัทพ์บทที่ 6

  1. public relation = ประชาสัมพันธ์
  2. novation = นวัตกรรม
  3. supplier = ผู้จัดส่งวัตถุดิบ
  4. consumer = ผู้บริโภค
  5. branb conpettion= การแข่งขันระหว่างตรายี่ห้อ
  6. marketing Evironment= สภาพแวดล้อมทางการตลาด
  7. economic Evironment = สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
  8. motivapion = แรงจูงใจ
  9. personalipy = บุคลิกภาพ
  10. social Needs = ความต้องการทางสังคม

บทที่ 6 เรื่องที่ 5 รูปแบบกลยุทธ์การโฆษณาเว็บไซต์

ข้อมูลสรุปนี้ไม่พร้อมใช้งาน โปรด คลิกที่นี่เพื่อดูโพสต์

บทที่ 6 เรื่องที่ 4กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย

เรื่องที่ 4กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย


การส่งเสริมการตลาด (Promotion) "เป็นส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ซึ่งองค์กรใช้เพื่อแจ้งข่าวสารและจูงใจตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของ องค์กรซึ่งต้องอาศัยกระบวนการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อสร้างทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ"
ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotional Mix) หมายถึง เครื่องมือการติดต่อสื่อสารทางการตลาดเพื่อแจ้งข่าวสาร จูงใจตลาด สร้างทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของตลาด ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด ประกอบด้วย 4 ประการคือ

    • การโฆษณา
    • การขายโดยใช้พนักงานขาย
    • การส่งเสริมการขาย
    • การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์
  • การโฆษณา (Advertising) "เป็นรูปแบบการเสนอขาย ความคิด สินค้าหรือบริการ โดยไม่ใช้พนักงานขาย และต้องมีการจ่ายเงินโดยผู้อุปถัมภ์รายการ" การโฆษณาจึงมีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นการเสนอขายสินค้า บริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ และต้องการจ่ายเงินค่าสื่อโดยผู้อุปถัมภ์รายการ
  • การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) "เป็นการติดต่อสื่อสารทางตรงแบบเผชิญหน้าระหว่างผู้ขายและลูกค้าที่คาดหวัง" การขายโดยใช้พนักงานขาย ถือเป็นการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)
  • การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) หมายถึง "กิจกรรมระยะสั้นที่ใช้ส่งเสริมการขายที่นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขายและการประชามสัมพันธ์ซึ่งสามารถกระตุ้นความสนใจ การทดลองใช้ หรือการซื้อของลูกค้าขั้นสุดท้ายหรือบุคคลอื่นในช่องทางการจัดจำหน่ายแต่ละระดับ" หรืออาจหมายถึง "กิจกรรมระยะสั้นซึ่งใช้ช่วยและเสริมการขายโดยใช้พนักงานและการโฆษณา" การส่งเสริมการขายอาจใช้ร่วมกับการโฆษณา หรือการขายโดยพนักงานขาย
  • การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Plublicity and Public Relation) "การให้ข่าว เป็นการส่งเสริมการขายโดยไม่ใช้บุคคลโดยไม่มีการจ่ายเงินจากองค์กรที่ได้รับ ผลประโยชน์จากการให้ข่าวนั้น" การประชาสัมพันธ์หมายถึง "การติดต่อสื่อสารกับกลุ่มที่เป็นลูกค้าและไม่ใช้ลูกค้า ซึ่งประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป พนักงานในองค์กร ผู้ถือหุ้น และหน่วยราชการ หรืออาจหมายถึง "ความพยายามที่มีการวางแผนโดยองค์กรหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง" การให้ข่าวจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งของการประชาสัมพันธ์

บทที่6 เรื่องที่ 3 รูปแบบกลยุทธ์การตลาดออนไลน์

เรื่องที่ 3 รูปแบบกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ 

การตลาดออนไลน์คืออะไร

การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คือการทำการตลาดโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการทำการตลาดที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่ระบบอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้น และเป็นที่แพร่หลายโดยทั่วไป พร้อมกันนี้ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลกโดยใช้ทุนน้อยที่สุดอีก ด้วย การตลาดออนไลน์นี้ ยังเป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมกับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะลูกค้าสามารถแจ้งรายละเอียด รวมไปถึงสามารถแนะนำเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นตรงตามความต้องการ ของลูกค้าได้อีกด้วย
ทั้งนี้ยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งในเรื่องของการจ้างพนักงานขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี หนังสือพิมพ์ หรือการโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วันโดยไม่พักและไม่มีการเพิ่มต้นทุนแต่อย่างใด
เทคนิคการตลาด และกลยุทธ์การตลาดออนไลน์นั้น ยังไม่จบนะครับ ยังมีเรื่องราวต่ออีกหลายตอน ผมเองจะพยายามรวบรวมนำมาเขียนให้อ่านกันนะครับ ทั้งนี้หากสรุปแบบย่อๆ ก็น่าจะมีดังต่อไปนี้ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำตลาดออนไลน์เลยก็ว่า ได้นั่นก็คือ
  • การเลือกโดเมนที่เหมาะสม
  • การใช้ Keywords ที่ตรงใจกับลูกค้า และสินค้า
  • การวางแผนงานต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอน
  • การทำ Search Engine Optimization (SEO) ที่ดี
    เทคนิคการตลาด และ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ (Marketing Techniques and Online Marketing Strategies) ภายหลังจากที่ผมเองนั้นไม่ได้เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับการตลาดเลยเป็นเวลานาน วันนี้ก็คงได้เวลาที่จะมาขัดเกลาความคิดและทำให้สมองได้ใช้งานบ้างกับ เนื้อหาเรื่อง “เทคนิคการตลาด และ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์” ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการทำงานสำหรับนัก Internet Marketing (IM) ทั้งนี้เนื่องจากว่า การสร้างรายได้ หรือการทำเงินต่างๆ นั้นล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการตลาดทั้งสิ้น วันเวลาปัจจุบันถือว่าได้ผ่านเลยไปอย่างรวดเร็ว แค่แว๊บเดียวก็เข้าสู่ปลายปีเสียแล้ว ทั้งๆ ที่การทำงานของเรานั้นยังไม่ได้ขยับไปไหนเลย แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราได้กับเวลาที่ผ่านไปก็คือประสบการณ์ที่ดี ความรู้ใหม่ๆ รวมไปถึงแนวคิดด้านการตลาดที่ เริ่มจะเปลี่ยนแปลงไปและพัฒนาให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้นนั่น เอง
    ก่อนที่เราจะเริ่มลงลึกในเนื้อหาเรื่องนี้ ผมต้องเกลาก่อนครับว่า อะไรเป็นอะไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสามารถอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการตลาดแบบต่อเนื่องได้อย่างมีอรรถรส มากยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับกับผมด้วยเช่นกันครับเอาละไปพบกับเนื้อหาสาระกันได้เลยดีกว่าครับ

บทที่ 6 เรื่องที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์ E-Marketing

เรื่องที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์ E-Marketing 


กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
     กลยุทธ์เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร
ปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้คือ
- ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
- กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
- กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
- จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร
     องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์คือการสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร
ซึ่งจะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม

Different forms of organizational strategy
Business unit strategy คือกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจแต่ละอันออกมา
Regional strategy คือการแบ่งโครงสร้างการจัดการออกเป็นภูมิภาค กลยุทธ์ของแต่ละภูมิภาคก็จะแตกต่างกัน
Functional strategy คือบางองค์กรมีการแบ่งฝ่ายออกเป็นหลายๆ ฝ่าย เช่นฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี กลยุทธ์ของแต่ละฝ่ายก็จะแตกต่างกัน


Relationship between E-Business Strategy and other strategies
Corporate strategy คือภาพรวมขององค์กรทั้งหมด
E-Business Strategy คือกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ SCM strategy และ Marketing/CRM strategy
E-Channel strategy ย่อมาจาก Eletronic channels คือการสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้าและคู่ค้า โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศเข้ามาจัดการให้ดีขึ้นและสามารถทำงานได้อย่างสะดวกและราบรื่น
Multi-Channel E-Business Strategy คือกลยุทธ์หลาายช่องทาง E-Business จะกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่างและช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน เช่น กลยุทธ์การเช็คอินของสายการบิน Air Asia

Strategy process models for E-Business
     Strategy Formulation คือลำดับขั้นตอนของการวางกลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณาแง่ต่างๆ
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน
- กำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรเพื่อกำหนดให้แน่ชัดว่าองค์กรจะมีลักษณะใด มีหน้าที่บริการอะไร แก่ใคร โดยมีปรัชญาหรือค่านิยมหลักในการดำเนินการเช่นใด
- กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรในระยะแผนกลยุทธ์
- การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์ แนวทางพัฒนาองค์การ

     Strategy Implementation
- การกำหนดเป้าหมายดำเนินงาน
- การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องดำเนินการ
- การปรับปรุงพัฒนาองค์กร ทั้งด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล เป็นต้น

     Strategy Control and Evaluation
- การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
- การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์


  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning)

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
   ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/335685

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning)

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
   ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/335685

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning)

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
   ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/335685

การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning)

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
   ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/335685

การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning)

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
   ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/335685

การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning)

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
   ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/335685