เรื่องที่ 4 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์
เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
1. กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4. กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6. กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น