วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำศัพท์บทที่ 5

คำศัพท์บทที่ 5

  1. novation = นวัตกรรม
  2. supplier = ผู้จัดส่งวัตถุดิบ
  3. consumer = ผู้บริโภค
  4. branb conpettion= การแข่งขันระหว่างตรายี่ห้อ
  5. marketing Evironment= สภาพแวดล้อมทางการตลาด
  6. economic Evironment = สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
  7. motivapion = แรงจูงใจ
  8. personalipy = บุคลิกภาพ
  9. social Needs = ความต้องการทางสังคม
  10. public relation = ประชาสัมพันธ์

บทที่ 5 เรื่องที่ 5 วัฒนธรรมกับผู้บริโภค

 เรื่องที่ 5  วัฒนธรรมกับผู้บริโภค


วัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อย (culture and subculture)วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสุดท้ายทางด้านสังคม ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค วัฒนธรรม หมายถึง ผลรวมทั้งหมดของความเชื่อ (beliefs) ค่านิยม (values) และวัตถุต่าง ๆ(objects) ที่สังคมใดสังคมหนึ่งมีร่วมกัน และจะถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง(Bovee,Houston and Thill.1995:127) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม ที่สังคมสร้างขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ช่วนพัฒนาขัดเกลาชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมให้ดีขึ้น
ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม มี 4 อย่างคือ1.วัฒนธรรมสามารถเรียนรู้กันได้2.วัฒนธรรมรับมาใช้ร่วมกันได้โดยผ่านสถาบันทางสังคม (เช่น ครอบครัว วัด โรงเรียน และสื่อมวลชน)3.วัฒนธรรมจะต้องได้รับการยอมรับการตอบสนองจากสังคมอย่างเหมาะสม4.วัฒนธรรมจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา (Engel,et al.quoted in Bovee, Houston and Thill.1995:127)
วัฒนธรรมของสังคมกลุ่มใหญ่สามารถแบ่งย่อยออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มเรียกว่า วัฒนธรรมย่อย โดยอาศัยฐานบางอย่างเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง เช่น ลักษณะประชากรศาสตร์ (demographic characteristics) ภูมิภาค ความเชื่อทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา ชนชาติและเชื่อชาติต่าง ๆ เป็นต้น วัฒนธรรมย่อย (subculture or microculture) อาจให้นิยามได้ว่า หมายถึง วัฒนธรรมของคนกลุ่มย่อยที่มีลักษณะเหมือนกัน ซื้อมีองค์ประกอบบางอย่างร่วมกันกับวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่อันเป็นส่วนรวม แต่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ (Lamb,Hair and McDaniel.1992:101) ในวัฒนธรรมย่อยหนึ่ง ๆ จะมีทัศนคติ ค่านิยม และกิจกรรมปฏิบัติของคนในกลุ่มนั้น คล้ายคลึงกันมาก มากกว่าที่ปรากฏในวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ ตัวอย่างเช่น ในสังคมไทย ประกอบด้วย คนไทยหลายเชื้อชาติ เช่น คนจีน มอญ เขมร แขก อิสลามและฝรั่ง อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทุกภาคในประเทศ บุคคลเหล่านี้จะมีวัฒนธรรมที่แตกร่างกันไป คนไทยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างกัน ในด้านภาษาพูด การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี การประกอบอาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ เป็นต้น
การศึกษาทำความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อย นำไปใช้ประโยชน์อย่างมากในทางการตลาด ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพราะวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อยของสังคมที่ต่างกัน ย่อมนำไปสู่พฤติกรรมในการซื้อที่แตกต่างกันด้วย ทำให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์ตลาด แบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตรงตามความต้องการของตลาดเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด หรือการโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ตัวอย่างบริษัทที่ใช้แนวความคิด นำวัฒนธรรมไทยไปใช้ในการโฆษณาประสบผลสำเร็จอย่างมาก เช่น สายการบินไทย โรงแรงโอเรียนเต็ล และบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ เป็นต้น และในการดำเนินงานการตลาดระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการกำหนดกลยุทธ์การโฆษณาระดับโลก (global advertising) การศึกษาทำความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรม และวัฒนธรรมย่อยของแต่ละประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งนับถือบูชา ภาษา สี และความเชื่อต่าง ๆ จำเป็นจะต้องศึกษาทำความเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจจำไปใช้สื่อความหมายที่ผิดพลาด กลายเป็นเรื่องขบขัน โกรธแค้นแก่ผู้รับสารโดยไม่รู้ตัว หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ตัวอย่างเช่น ฝรั่งนำพระพุทธรูปไปใช้ในโฆษณา เป็นต้น

บทที่ 5 เรื่องที่ 4 สาเหตุความไม่พอใจของลูกค้า

เรื่องที่ 4 สาเหตุความไม่พอใจของลูกค้า


   การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ในองค์กรทางด้านธุรกิจนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากการสร้างความพึงพอใจทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อและทำการซื้อซ้ำ รวมถึงการมีความภักดีต่อตราผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งผลถึงผลกำไรระยะยาวที่ดี ทั้งนี้มีหลายวิธีในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ลูกค้าตลอดเวลา ซึ่งทั้งนี้ขอยกตัวอย่าง 2 วิธีคือ การสร้างระดับมาตรฐานและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์


การสร้างระดับมาตรฐาน มีด้วยกัน 3 ระดับคือ

        1. ระดับมาตรฐานขั้นต่ำ (Basic Service) เช่น ร้านอาหารต้องสะอาด บรรยากาศน่านั่ง ปั๊มน้ำมันต้องมีห้องน้ำสะอาดไว้บริการลูกค้า สถานท่องเที่ยวต้องมีรถรับส่งไว้บริการนักท่องเที่ยว เป็นต้น คุณภาพพื้นฐานของบริการจะสร้างความพอใจและความคาดหวังขั้นต่ำ บางครั้งเมื่อบริการที่แปลกใหม่ของเราถูกคู่แข่งเลียนแบบก็จะกลายเปนบริการมาตรฐานทั่วไปทันที เช่น ในอดีต ร้านกาแฟ ไม่มี Wi-Fi ให้บริการ ร้านใดมี Wi-Fi ให้บริการถือว่าเป็นร้านที่แปลกใหม่ สร้างความแตกต่างและสามารถดึงดูดได้มากทีเดียว แต่ในปัจจุบันร้านกาแฟใดไม่มี Wi-Fi ถือว่าเป็นร้านที่แปลก เนื่องจาก Wi-Fi เป็นส่วนหนึ่งของร้านกาแฟไปเสียแล้ว

        2.ระดับบริการที่เพิ่มขึ้นตามการลงทุนที่เพิ่มขึ้น (Marginal Service) เป็นการยกระดับความพอใจลูกค้าจากที่ลูกค้าได้รับบริการพื้นๆ หรือมาตรฐานทั่วไป ไปสู่บริการใหม่ๆ ที่คู่แข่งไม่มี โดยการลงทุนบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น รถโดยสารที่มีเบาะนวดไฟฟ้า มีเครื่องดูหนัง ฟังเพลงเฉพาะที่นั่ง เพื่อให้ลูกค้าพอใจมากยิ่งขึ้น โดยความคุ้มค่าของการลงทุนนี้จะต้องไปทิศทางเดียวกันกับการเพิ่มระดับความพอใจของลูกค้าด้วยเสมอ แต่การลงทุนบริการเพื่อเพิ่มคุณภาพบริการในระดับสะสมเพิ่มนี้ ก็ยังถูกคู่แข่งเลียนแบบได้อีกเช่นกัน จนกลายเป็นคุณภาพมาตรฐาน Basic ทั่วไป จึงต้องค่อยเพิ่มการลงทุนใหม่ๆ โดยสำรวจความพอใจของลูกค้าตลอดเวลาแทนที่จะลงทุนครั้งเดียวจบ
 
        3.ระดับบริการที่สร้างประสบการณ์ประทับใจให้ลูกค้า (Attractive Service) เป็นวิธีสร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้าประสบการณ์อย่างไม่คาดฝัน ณ จุดที่รับบริการ ซึ่งอาจเกิดจากพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีหรือจากลูกค้าเองที่มีส่วนร่วมในบริการมากขึ้น อาทิ เมื่อเราไปติดต่อทำธุรกรรมทางการเงิน จะต้องมีการกรอกฟอร์ม ใบฝาก ถอน โอน ก่อนจึงจะสามารถไปติดต่อที่เคาท์เตอร์ได้ เมื่อกลางปี 2012 ธนาคารไทยพาณิชย์ สร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆให้ลูกค้าโดยเมื่อต้องการติดต่อธุรกรรม ฝาก ถอน โอน เงินสดไม่ต้องเขียนใบกรอกฟอร์มเพื่อนำไปยื่นที่เคาท์เตอร์ เหมือนแต่เดิมอีกต่อไป เพียงแค่เดินไปที่เคาท์เตอร์ ก็สามารถทำรายการผ่านเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ทันที ซึ่งวิธีดังกล่าวสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า แต่ทุกคนจะรู้หรือไม่ว่า กลยุทธ์ดังกล่าว ธนาคารทหารไทย เป็นรายแรกในตลาดที่ให้บริการลูกค้าผ่านสาขาของธนาคาร โดยไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม "ฝาก-ถอน" ซึ่งทำมานานเกือบ 2 ปีแล้ว ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี สุดท้ายการสร้างคุณภาพบริการในระดับประสบการณ์ จำเป็นต้องลงทุนในระยะยาวอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง จนกลายเป็นวัฒนธรรมบริการธุรกิจที่ช่วยหล่อหลอมพนักงานใหม่ๆ ทุกคนให้มีการปฏิบัติต่อลูกค้าในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ต่อลูกค้าตลอดเวลา
หตุความไม่พอใจของลูกค้า

บทที่ 5 เรื่องที่ 3 ทฤษฎีความพึงพอใจของผู้บริโภค

 เรื่องที่ 3 ทฤษฎีความพึงพอใจของผู้บริโภค

ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความรู้สึกหรือทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำของบุคคลที่มีต่องานในทางบวก ความสุขของบุคคลอันเกิดจากการปฏิบัติงานและได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น มีความสุข ความมุ่งมั่นที่จะทำงาน มีขวัญและมีกำลังใจ มีความผูกพันกับหน่วยงาน มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จของงานที่ทำ และสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานส่งผลต่อถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จขององค์การ
ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะมีความคาดหมายกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างไร ถ้าคาดหวังหรือมีความตั้งใจมากและได้รับการตอบสนองด้วยดีจะมีความพึงพอใจมากแต่ในทางตรงกันข้ามอาจผิดหวังหรือไม่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามที่คาดหวังไว้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตั้งใจไว้ว่าจะมีมากหรือน้อยสอดคล้องกับ ฉัตรชัย  (2535) กล่าวว่า ความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งหรือปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรือบรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง


สิ่งจูงใจที่ใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ มีด้วยกัน 4 ประการ คือ
1.    สิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ (material inducement) ได้แก่ เงิน สิ่งของ หรือสภาวะทางกายที่ให้แก่ผู้
ประกอบกิจกรรมต่างๆ
2.    สภาพทางกายที่พึงปรารถนา (desirable physical condition ) คือ สิ่งแวดล้อมในการ
ประกอบกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งอันก่อให้เกิดความสุขทางกา
3.    ผลประโยชน์ทางอุดมคติ (ideal benefaction) หมายถึง สิ่งต่างๆที่สนองความต้องการของ
บุคคล
4.    ผลประโยชน์ทางสังคม (association attractiveness) หมายถึง ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับผู้
ร่วมกิจกรรม อันจะทำให้เกิดความผูกพัน ความพึงพอใจและสภาพการร่วมกัน อันเป็นความพึงพอใจของบุคคลในด้านสังคมหรือความมั่นคงในสังคม ซึ่งจะทำให้รู้สึกมีหลักประกันและมีความมั่นคงในการประกอบกิจกรรม

บทที่ 5 เรื่องที่ 2 ประเภทของผู้บริโภค

 เรื่องที่ 2 ประเภทของผู้บริโภค

ประเภทของการบริโภค  สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของสินค้าเป็น 2 ประเภท คือ
1. การบริโภคสินค้าไม่คงทน (nondurable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของชนิดที่สิ้นเปลืองหรือใช้หมดไป เรียกว่า destruction เช่น การบริโภคน้ำ อาหาร ยารักษาโรค น้ำมันเชื้อเพลิง   ฯลฯ 

2. การบริโภคสินค้าคงทน (durable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของที่ยังคงใช้ได้อีก ลักษณะนี้เรียกว่า diminution เช่น การอาศัยบ้านเรือน การใช้รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทนี้ก็จะค่อย ๆ สึกหรอไป จนในที่สุดจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก


องค์ประกอบ
    สามารถอธิบายได้ด้วย โมเดลพฤติกรรมผู้บริโภค  เป็นระบบที่เกิดขึ้นจากสิ่งเร้า หรือสิ่งกระตุ้น(Stimulus) ให้เกิดความต้องการ  (Need)  ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ มีอิทธิพลอิทธิพล ทำให้เกิดการตอบสนอง (Buyer’s  response) หรือ การตัดสินใจของผู้ซื้อ (Buyer’s   purchase decision) โดยสามารถเรียกว่าโมเดลที่ใช้อธิบายระบบนี้ได้อีกลักษณะว่า  S-R Theory ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ได้แก่
            1. สิ่งกระตุ้น (Stimulus) ทั้งภายในและภายนอก นักการตลาดจะสนใจ เน้นการสร้างสิ่งกระตุ้นทางการตลาดซึ่งควบคุมได้ และ สิ่งกระตุ้นอื่นที่ควบคุมไม่ได้
            2. ความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ (Buyer’s black box) เปรียบเสมือนกล่องดำ (Black box) ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่สามารถทราบได้ ต้องพยายามค้นหาความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ ที่ได้รับอิทธิพลจากลักษณะของผู้ซื้อ และกระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ
        3. การตอบสนอง (Buyer’s Response) การตอบสนองหรือการตัดสินใจซื้อของผู้ซื้อหรือ ผู้บริโภคจะมีการตัดสินใจในประเด็นต่าง 

บทที่ 5 เรื่องที่ 1 พฤติกรรมผู้บริโภค

เรื่องที่ 1 พฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บริโภคทุกคนที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อวัตถุประสงค์เช่นว่านี้รวมกันเรียกว่าตลาดผู้บริโภค ผู้บริโภคทั่วโลกนั้น มีความแตกต่างกันในลักษณะประชากรอยู่หลายประเด็น เช่น ในเรื่องของอายุ รายได้ ระดับการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม และรสนิยม เป็นต้น ทำให้พฤติกรรมการกินการใช้ การซื้อ และความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป ทำให้มีการซื้อการบริโภคสินค้าและบริการหลาย ๆ ชนิดที่แตกต่างกันออกไป นอกจากลักษณะประชากรดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้มีการบริโภคแตกต่างกัน



พฤติกรรมผู้บริโภคมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจะทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคและความสามารถในการค้นหาทางแก้ไข พฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะช่วยในการพัฒนาตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคที่ฉลาด นอกจากจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าบริการแล้ว จะต้องรอบรู้เท่าทันกลวิธี เทคนิค และกลฉ้อฉลต่าง ๆ ที่ใช้ในการขายสินค้าและบริการ รวมถึงสามารถปกป้องสิทธิที่ตนเองพึงได้รับด้วย การเรียนรู้การเป็น ผู้บริโภคที่ฉลาด จะทำให้ทราบและสามารถลำดับความสำคัญของทางเลือกต่าง ๆ ในการใช้เงิน ตลอดจนรู้จักหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อและใช้สินค้าและบริการ

คำศัพท์บทที่ 4

คำศัพท์บทที่ 4


  1. Society Marketing = การตลาดเพ่อสังคม
  2. Need = ความจำเป็น
  3. Want = ความต้องการ
  4. From Utility = อรรถประโยชน์ด้านผลิตภัณฑ์
  5. Time Utility = อรรถประโยชน์ด้านเวลา
  6. Place Utility = อรรถประโยชน์สถานที่
  7. Ownership Utility = อรรถประโยชน์ด้านความเป็นเจ้าของ
  8. Information Utility = อรรถประโยชน์ด้านข้อมูล
  9. Culture = กล่องดำ
  10. Motivation = แรงจูงใจ

บทที่ 4 เรื่องที่ 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

เรื่องที่ 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

เพื่อให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยมีข้อพิจารณาดังนี้
ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์   -       ราคา, บริการ คุณภาพ
การบริการส่วนบุคคล       -        ดึงข้อมูลได้เร็ว  ความลับส่วนตัว
ความสะดวกสบาย           -        ใช้ง่าย สะดวก

บริการหลังการขาย          -       เปิด call center


         การวางแผน
  • Product ผลิตภัณฑ์หรือสินค้า
  • Price ราคา การตั้งราคาสินค้า 
  • Places การจัดจำหน่าย
  • Promotion การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการตลาด
    
 สร้างระบบ E-Commerce สิ่งที่จะต้องนำเสนอในการเตรียมตัวสร้างระบบรองรับ E-Commerce มีดังนี้
  • ด้านระบบเทคโนโลยีและบุคลากร
  • งบประมาณ ทุนดำเนินการ
  • เทคนิคการโปรโมตเว็บไซต์


บทที่ 4 เรื่องที่ 4 รูปแบบการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

 เรื่องที่ 4 รูปแบบการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการทำธุรกิจของ E-Commerce

1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้าผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด ตัวอย่าง Website เช่น 
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (www.micorsoft.com) บริษัทซิสโกเป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (www.cisco.com) ขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (http://www.tesco.co.th/th/index.html) ขายสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(http://www.value.co.th/th/main.asp) และ ตลาดซื้อขายออนไลน์ (http://www.b2bthai.com/) เป็นต้น

2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชำระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทำการแลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น 
บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทำการขายหนังสือไปทั่วโลก (www.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (http://www.abcjewelry.com/) และ ขายอาหาร(http://www.pizza.co.th/) ขายหนังสือ (http://www.se-ed.com)เป็นต้น

3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)


4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น
เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง (http://www.thaisecondhand.com) เป็นต้น

บทที่ 4 เรื่องที่ 3 ประเภทลูกค้าในระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์

 เรื่องที่ 3 ประเภทลูกค้าในระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์

ลูกค้าประเภทเน้นคุณภาพชีวิต
   - การเลือกซื้อเลือกบริโภคต้องมีคุณภาพและได้รับการยอมรับว่าคุ้มค่าในด้านประโยชน์ในการใช้ และคุ้มค่าในรสนิยม


ลูกค้าประเภทเน้นตราสินค้า

   - ลูกค้าประเภทนี้นิยม ชอบ และมั่นใจในตราของสินค้า 

ลูกค้าประเภทนิยมสินค้าสร้างสรรค์
   - ลูกค้าประเภทนี้นิยมเข้ามาศึกษาดูสินค้าแปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร รูปแบบทันสมัย ในเว็บไซต์ต่างๆ

ลูกค้าประเภทเก็บข้อมูล

   - ลูกค้าประเภทนี้นิยมค้นหา และติดตาม เปรียบเทียบสินค้าตามเว็บไซต์ต่างๆโดยนำรายละเอียดมาเปรียบเทียบกัน แล้วนำข้อมูลนั้นไปหาซื้อสินค้าชนิดนั้นเอง

ลูกค้าประเภททันกระแส
   - ลูกค้าประเภทนี้เป็นคนรุ่นใหม่ที่เริ่มวัยทำงาน ยังไม่มีครอบครัว หรือ นักศึกษาวัยหนุ่มสาวที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ นิยมเข้าไปหาสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม สินค้าแฟชั่น กลุ่มนี้จะสั่งซื้อสินค้าตามเว็บไซต์ที่สนใจทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ

บทที่ 4 เรื่องที่ 2 กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

เรื่องที่ 2 กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์


1. กระบวนการก่อนการตัดสินใจ

  • ความต้องการพื้นฐาน
  • หาข้อมูลสินค้า
  • ทางอินเตอร์เน็ต
  • เอกสาร/แคตตาล็อก
  • ผู้ที่เคยใช้
2. กระบวนการตัดสินใจซื้อ
  • ราคา
  • คุณภาพ
  • ประโยชน์
  • ขั้นตอนการขนส่ง
  • ภาพลักษณ์ของสินค้า
3. กระบวนการหลังการขาย
  • บริการหลังการขาย
  • ข้อมูลในการแก้ไขปัญหา
  • การรับประกัน
  • การช่วยเหลือด้านเทคนิค
  • แหล่งช่วยเหลืออื่นๆ

บทที่ 4 เรื่องที่ 1 การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)

เรื่องที่ 1 การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)


การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
การค้าปลีก (Retailing) หมายถึง การดำเนินการค้า โดยการกระจายสินค้าจากส่วนใหญ่ให้เป็นส่วนย่อย เพื่อให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างทั่วถึง เช่น เครื่องอุปโภค บริโภค โดยวิธีระบายสินค้าในลักษณะทยอยสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย
การค้าปลีก แบบดังเดิมที่เรียกว่า ร้านขายของชำหรือร้านโชว์ห่วยที่คนทั่วไปในชุมชนรู้จักกันดี มีข้อจำกัดในเรื่องการขยายฐานลูกค้าและการพัฒนาไปสู่บริการลูกค้าอย่างกว้างขวาง

การค้าปลีกทางอิเล็กทรอกนิกส์ในปัจุบัน สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 
1. ประเภทร้านค้าเสมือน 
          เป็นลักษณะการเปิดร้านบนเว็บบล็อก หรือเปิดร้านทางเว็บไซต์แสดงรายการสินค้าและรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายในเว็บไซต์
2. ประเภทตลาดกลาง
          การค้าบนเว็บไซต์นี้ เป็บเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้น เป้าหมายเพื่อเป็นเว็บไซต์กลางที่จะนำเว็บไซต์ร้านเสมือนต่าง ๆ มารวบรวมไว้ที่เดียวกัน เพื่อคอยเป็นสื่อกลางและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่ต้องการค้าหาสินค้าประเภทต่าง ๆโดยไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาหลายเว็บไซต์ให้เสียเวลา

สินค้าและบริการที่ที่เหมาะสมกับการค้าปลีกบนออนไลน์
   สินค้าและบริการนันไม่ควรมีขนาดใหญ่มากเกินไป จนไม่สามารถส่งให้ลูกค้าได้ หรืออาจจะมีอุปสรรคในเรื่องการบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และค่าใช้จ่าย
* ต้องป็นสินค้าที่ไม่ผิดจารีตประเพณี ศีลธรรม กฏหมาย และวัฒนธรรมอันดีงาม
* สินค้าและบริการควรเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงดี มีแบรนด์ที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มบุคคลทั่วไป
* สินค้าและบริการควรมีระบบและมาตรการคุมคุณภาพ
* สินค้าและบริการที่นำมาเสนอนั้น ควรมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว มีแหล่งเดียวที่ผลิต มีจำหน่ายที่เดียว ไม่มีจำหน่ายร้านค้าทั่วไป
* ถ้าเป็นสินค้าที่เหมือนกับสินค้าที่มีวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไป สินค้าที่เสนอขายทางออนไลน์ควรสร้างจุดเด่น เพื่อความแตกต่างจากลูกค้าให้เห็นว่า มีประโยชน์มากกว่าสั่งซื้อที่อื่นอย่างไร

คำศัทพ์บทที่ 3

คำศัทพ์บทที่ 3
  1. Packageing = การบรรจุภัณฑ์
  2. Label = ฉลาก
  3. Price = ราคา
  4. Value = มูลค่า
  5. Fixed Cost = ต้นทุนคงที่
  6. Variable Cost = ต้นทุนผันแปร
  7. One Price Policy = นโยบายราคาเดียว
  8. Cash Discount = ส่วนลดเงินสด
  9. Trade Discount = ส่วนลดการค้า
  10. Middleman = คนกลาง

บทที่ 3 เรื่องที่ 5 การโปรโมทเว็บไซต์

 เรื่องที่ 5 การโปรโมทเว็บไซต์


คำแนะนำในเว็บนี้ เป็นเครื่องมือช่วยคุณโปรโมทเว็บไซต์ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

เหมาะสำหรับทุกท่าน ทั้งผู้ที่สร้างเว็บไซต์กับ SimpleDifferent, ผู้รักการทำเว็บไซต์ หรือ บุคคลทั่วไปที่ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการโปรโมทเว็บไซต์

การโปรโมทเว็บไซต์นี้ เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากคุณเขียนเว็บเสร็จแล้ว
ศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อ เขียนเว็บอย่างไรให้โดนใจผู้อ่าน และ Search engines จากเว็บไซต์ช่วยเหลือของ SimpleDifferent

เริ่มจากคำแนะนำเบื้องต้น เรื่องการสร้างเว็บไซต์ให้รองรับการทำงานของเครื่องมือค้นหา (Search Engine) เพื่อช่วยให้กลุ่มผู้เข้าชมเป้าหมาย ค้นหาเว็บไซต์ของคุณเจอ
ต่อไปเป็น การใช้เว็บไซต์อื่นเป็นเพื่อช่วยโปรโมทเว็บคุณ
สุดท้ายเป็นคำแนะนำเกี่ยวกับ การโปรโมทเว็บไซต์ขั้นสูง ที่ใครๆก็สามารถอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ
เลือกอัพเกรด Pro  กับ SimpleDifferent เพื่อสิทธิประโยชน์อื่นๆและรับเครื่องมือช่วยโปรโมทเว็บของคุณ

บทที่ 3 เรื่องที่ 4 อินเตอร์เน็ตกับการตลาด

เรื่องที่ 4 อินเตอร์เน็ตกับการตลาด

การตลาดบนอินเทอร์เน็ต (อังกฤษInternet marketing) หรืออาจใช้ว่า i-marketing, web-marketing, Digital Marketingการตลาดออนไลน์ (online-marketing) หรือ การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketing) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งในรายละเอียดของการทำการตลาด E-Marketing จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  1. เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
  2. เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
  3. เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้อง การของตนเอง
  4. มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
  5. เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
  6. สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
  7. มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
  8. มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
  9. มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)

บทที่ 3 เรื่องที่ 3 การบริการบนอินเตอร์เน็ต

เรื่องที่ 3 การบริการบนอินเตอร์เน็ต


1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)
                 จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mailเป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
                 องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย 
                1. ชื่อผู้ใช้ (User name) 
                2. ชื่อโดเมน Username@domain_name 
                การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 
               1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น 
               2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail

5image1
2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web : WWW)
                 เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิกได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดโดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติ
ของ HyperText Link
                  WWW คืออะไร การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ WWW (World Wide Web) เป็นเครื่องมือในการ
ให้บริการข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ได้ง่าย สามารถชมได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง VDO แม้แต่ส่ง Pager หรือจะสั่ง Pizza ก็ได้

                  ในปัจจุบันมีโปรแกรมในลักษณะของ WWW อยู่หลายตัวและหลายเวอร์ชั่นมากมาย แต่ละตัว
จะเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด โปรแกรมที่จะพาผู้ใช้เข้าถึงบริการในลักษณะของ WWW เรียกว่า “บราวเซอร์” (Browser) ตามลักษณะของการใช้บริการดังกล่าวที่ดูเสมือนการเปิด หนังสือดู ไปทีละหน้า เหมือนการใช้ Online Help นั่นเอง 

3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
                 การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Serverของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP   

การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 
                1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่นhttp://www.download.com 
                2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander

social-bookmarking-sites
4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET)
                การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ   Bulletin Board    กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท     เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็น
ประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตน
เข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูล
ตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน

internet
5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)
                Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวไดส่วนคำสั่งในการ ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

8216
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)
                เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ต อบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัด
เฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Softwareทำให้ปัจจุบัน เราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ


browser
images
1308732091